|
 |
 |
lanning your stay in France ความเป็นอยู่ในฝรั่งเศส |
|
|
 |
การจัดการเรื่องค่าเล่าเรียน |
 |
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นนักศึกษาต่างชาติทุกคนเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลฝรั่งเศสแล้วทั้งนั้น แต่นอกเหนือจากนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่ครู อาจารย์ ที่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลฝรั่งเศสให้ทุนการศึกษาประเภทนี้มากกว่า 100 ทุน แก่ประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีทุนการศึกษาของสหภาพยุโรปในโครงการการแลกเปลี่ยน
ต่าง ๆ และทุนการศึกษาของรัฐบาลไทย (ทุน ก.พ.) |
นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการไปศึกษาในฝรั่งเศส มีวิธีการจัดการด้านการเงิน 3 ทาง คือ |
1. ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส การขอรับทุนดำเนินการโดยสถานทูตฝรั่งเศส ฝ่ายวัฒนธรรม |
ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สถานทูตฝรั่งเศส ฝ่ายวัฒนธรรมในประเทศไทย และ Web site กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส Eiffel scholarship... www.egide.asso.fr/eiffel |
2. ทุนรัฐบาล หรือทุนของภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาของประเทศไทย บางแห่งเสนอให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาในต่างประเทศ |
ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก กระทรวงศึกษาธิการ หรือ สำนักงานให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน หรือสำนักงานนักศึกษาต่างประเทศใน
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ |
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) www.ocsc.go.th |
3. ทุนระหว่างประเทศ หรือองค์การ NGO เช่น สมาคมหรือกองทุนต่าง ๆ |
ข้อมูลเพิ่มเติม ค้นได้จาก UNESCO สาขาศึกษาต่างประเทศ www.unesco.org |
คุณควรจะเริ่มดำเนินการขอทุนอย่างน้อย 1 ปี ล่วงหน้าก่อนที่คุณจะเดินทางไปฝรั่งเศส นักศึกษาไม่สามารถรับทุนจาก 2 แหล่งพร้อมกันได้ |
 |
นักศึกษาต่างชาติทำงานในฝรั่งเศสได้หรือไม่ |
 |
ได้ แต่กฎหมายฝรั่งเศสควบคุมการทำงานของนักศึกษาต่างชาติจากทุกประเทศ นักศึกษาจะต้องทำงานไม่เกินปีละ 884 ชม. ในแต่ละปีที่ได้รับการอนุญาต นักศึกษาสามารถทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 19 ชม.ครึ่ง ของแต่ละ
ปีการศึกษา ในช่วงปิดเทอม นักศึกษาสามารถทำงานได้เต็มเวลา (39 ชม. ต่อสัปดาห์) |
นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการทำงานจะต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงแรงงานฝรั่งเศส 1 กรกฎาคม 1999 ค่าแรงขั้นต่ำในฝรั่งเศสเท่ากับ 6.41 ยูโร ต่อชั่วโมง |
 |
การขอวีซ่า (ระยะยาว) |
 |
ข้อกำหนดพื้นฐาน |
นักศึกษาต่างชาติมีสิทธิหลายอย่างในการเข้าประเทศฝรั่งเศส
ประการแรกก็คือ สามารถต่อวีซ่าระยะยาวได้ตลอดช่วงระยะเวลาการศึกษา |
สำหรับผู้ที่ต้องการวีซ่าสำหรับการหาสถานศึกษาในฝรั่งเศส จะได้รับวีซ่าพิเศษที่เรียกว่า Étudiant concours ซึ่งมีอายุไม่เกิน 90 วัน สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเพื่อไปเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาระดับสูง บุคคลที่ผ่านการทดสอบจะได้รับวีซ่านักศึกษาโดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางก่อน วีซ่าประเภทนี้ จะออกให้กับนักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับสูงที่ดำเนินขั้นตอนตามระเบียบของหลักสูตรระยะสั้น หรือวิชาฟื้นฟู ทบทวนสำหรับ
หลักสูตรวิชาชีพ |
การขอวีซ่า ต้องไปติดต่อที่แผนกวีซ่าของสถานกงสุลฝรั่งเศส เลขที่ 29 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ |
แบบฟอร์มวีซ่า Download ได้ที่ www.diplomatie.gouv.fr/venir/visas/index.html (ไม่ยืนยันว่าสามารถใช้ยื่นขอวีซ่าจริงได้ แต่เป็นแบบมาตรฐานของฝรั่งเศส ใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมเอกสารและการเขียน อาจจำเป็นต้องใช้แบบฟอร์มที่สถานทูต/สถานกงสุล) |
มีข้อควรจำ 2 ประการ |
1. วีซ่าท่องเที่ยวไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักศึกษาได้ ซึ่งหมายรวมถึงประเทศในสหภาพยุโรปด้วย |
2. นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการอยู่ในฝรั่งเศสนานเกินกว่า 3 เดือน จะต้องมีบัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Carte de séjour) |
 |
ข้อกำหนดของสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยในการขอวีซ่า นักศึกษา |
 |
การยื่นคำร้องเพื่อศึกษาต่อ |
นักศึกษาที่ประสงค์จะเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส จะต้องติดต่อแผนกวัฒนธรรมก่อนการยื่นคำร้อง |
ประเภทของวีซ่า |
วีซ่าระยะยาว ผ่านแดน 1 ครั้ง และจะต้องดำเนินเรื่องขอทำบัตรประจำตัวเมื่อถึงประเทศฝรั่งเศส |
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง |
 แบบคำร้องประเภทระยะยาว 2 ใบ |
 รูปถ่าย 2 ใบ |
 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส) |
 สำเนาสูติบัตร (ฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส) |
 เอกสารรับรองเพื่อลงทะเบียนเรียนในสถาบันอุดมศึกษา หรือในสถาบันสอนภาษาฝรั่งเศส อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ |
 ใบประกาศนียบัตรหรือหลักฐานผลการเรียนภาคปีการศึกษา |
 หลักฐานทางการเงิน ผู้ยื่นคำร้องจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นจำนวนเงิน 3,787 ยูโรต่อปีเป็นอย่างต่ำ หรือหลักฐานการโอนเงินตลอดระยะเวลาที่ศึกษาเป็นเงิน 380 ยูโรต่อเดือน เช่น สำเนาการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร เป็นต้น |
 เอกสารรับรองที่พัก |
- หนังสือยืนยันที่พัก รับรองโดยผู้ตอบรับพร้อมสำเนาบัตร
ประจำตัวหรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในกรณีที่ผู้ตอบรับเป็นต่างด้าว หรือ |
- สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ หรือ |
- หลักฐานการจองห้องพักของสถาบันการศึกษา |
 ใบรับรองแพทย์ โดยแพทย์ที่สถานทูตรับรองสถานะ |
แพทย์หญิงวรรณวโรทัย สิงหศิวนนท์ |
วันจันทร์ |
โทร. 0-2535-3169 |
วันอังคาร-พุธ |
โทร. 0-2563-9115 |
วันพฤหัสบดี-ศุกร์ |
โทร. 0-2513-0121 ต่อ 1423 |
หรือหลัง 19.00 น. |
โทร. 0-2233-4706 |
|
หมายเหตุ |
1. หนังสือเดินทางจะต้องมีอายุใช้การได้เกินกว่า 1 ปี |
2. นักเรียน (นักศึกษา) จะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยโดยได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภทระยะยาว มิใช่ประเภทท่องเที่ยว เพื่อขออนุญาตในการพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศสอย่างถูกต้อง |
3. ผู้ยื่นคำร้องขอรับรองการตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภทนักเรียน (นักศึกษา) จะต้องยื่นเอกสารด้วยตนเอง |
4. สถานทูตฯ สงวนสิทธิ์ที่จะเรียกถามรายละเอียด หรือเอกสาร
อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ |
 |
การหาที่พัก |
 |
การหาที่พักของนักศึกษาในฝรั่งเศสไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในปารีส ขอ แนะนำว่าคุณควรเริ่มหาที่พักตั้งแต่การตัดสินใจไปศึกษาต่อ อย่างน้อยที่สุด ไม่ควรต่ำกว่า 3 เดือนก่อนการเดินทาง โดยทั่วไปมีทางเลือกในการหาที่พักใหญ่ ๆ 2 ทาง คือ |
 |
 |
 |
1. ที่พักของมหาวิทยาลัย |
แม้ว่ามหาวิทยาลัยฝรั่งเศสจะจัดที่พักสำหรับนักศึกษาและอพาร์ทเมนต์ราคาต่ำ (106 - 257 ยูโร ต่อเดือน) บริหารโดยศูนย์กิจการนักศึกษา (CROUS : Centres Régionaux des Oeuvres Universitaires et Scolaires)
การจะได้ที่พักหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่มีบรรทัดฐานที่แน่นอน นักศึกษาต่างชาติที่ได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสจะได้รับสิทธิ์ก่อน |
2. ที่พักในเมือง |
ในปารีส ราคาค่าเช่าที่พักรายเดือนอยู่ประมาณ 14 ยูโร ต่อตาราง-เมตร และ 7 ยูโร ต่อตารางเมตรในชนบท ในปารีสและพื้นที่รอบ ๆ จะหาที่พักได้ยาก เว้นแต่จะติดต่อตัวแทนจัดหาที่พักล่วงหน้าไว้ก่อน |
ข้อพิจารณาอื่น ๆ |
CROUS ซึ่งมีอยู่ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะมีข้อมูลการเช่าที่พักอาศัยในเขตชุมชน |
มหาวิทยาลัยและโรงเรียนหลายแห่ง มักจะมีการติดตามข้อมูลเรื่องที่พักอาศัยของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย บางแห่งอาจมีที่พักไว้ให้กับนักศึกษาของตนเอง ควรจะสอบถามเรื่องที่พักอาศัยตั้งแต่การติดต่อ
ครั้งแรก |
Web site ต่อไปนี้ มีรายการที่พักอาศัยให้เช่าทั่วประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ EduFrance หรือมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส |
FNAIM (Fédération Nationale des Agences Immobilières) |
Yahoo-France real estate classifieds |
การเช่าอพาร์ทเมนต์ในฝรั่งเศส ผ่านตัวแทนจัดหาที่พักต้องการ |
- เงินมัดจำ เพื่อประกันว่าคุณจะจ่ายค่าเช่ารายเดือน |
- เงินมัดจำค่ารักษาความปลอดภัย ซึ่งเท่ากับ 2 เดือนล่วงหน้าของค่าเช่า |
- ค่าธรรมเนียมของตัวแทนจัดหาที่พัก (ปกติเท่ากับค่าเช่า 1 เดือน) |
 |
การประกันสุขภาพของฝรั่งเศส |
 |
ระบบสวัสดิการสังคมในฝรั่งเศส จัดได้ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นานกว่า 50 ปีแล้วที่ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (Sécurité sociale) ได้จ่ายทดแทนในทุกส่วนของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของสมาชิก การประกันของแต่ละบุคคลมีสิทธิที่จะเลือกสถาบันการประกันได้โดยอิสระ |
สำหรับนักศึกษา มีระบบประกันสุขภาพพิเศษให้บริการ นักศึกษา
ต่างชาติอายุต่ำกว่า 28 ปี จะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ โดยจะต้อง
ลงทะเบียนในสถาบันการศึกษาที่มีแผนประกันสุขภาพนักศึกษา โดยมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพเป็นรายบุคคล การเข้าเป็นสมาชิกระบบประกันสุขภาพของ นักศึกษา คุณจะต้องลงทะเบียนความคุ้มครองประกันสุขภาพในสถาบัน
การศึกษาฝรั่งเศสตั้งแต่เริ่มต้นของภาคเรียน โดยคุณจะต้องเลือกแผนคุ้มครองสุขภาพสาธารณะซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสรับรองอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 สถาบัน สำหรับนักศึกษา |
ค่าธรรมเนียมประมาณ 92 ยูโร ต่อปี แผนประกันทั้ง 5 แบบคือ |
 MNEF |
 USEM |
 MER |
 SMEBA |
 UNITSEM |
 |
การจ่ายค่าทดแทน โดยฝ่ายประกันสุขภาพแห่งชาติ |
 |
แผนประกันเป็นกลุ่มจะจ่ายค่าทดแทนจากความแตกต่างระหว่าง ค่าใช้จ่ายจริงในการรับบริการทางการแพทย์ (ค่าธรรมเนียมแพทย์ ยา ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล) และจำนวนค่าทดแทนของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ |
แผนคุ้มครองสำหรับนักศึกษา เป็นรูปแบบการประกันอุบัติเหตุที่คุณก่อต่อผู้อื่น คุ้มครองการบาดเจ็บและความเสียหายที่มีผลสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุ รวมทั้งการประกันชีวิต |
ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอแผนประกันบุคคลที่ไม่ได้รับความคุ้มครองผ่านหน่วยงานประกันสุขภาพ (CPAM : Caisse Primaire dAssurance Maladie) ในเขตที่คุณพักอาศัยอยู่ กรมธรรม์ส่วนบุคคลนี้บริการความคุ้มครองในระดับเดียวกับแผนประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่เป็นบริการสาธารณะโดยบริษัทเอกชนทั่วไปเช่น MNEF และ USEM |
 |
 |
 |
สิ่งที่ต้องทำเมื่อไปถึงฝรั่งเศส |
 |
เมื่อคุณไปถึงฝรั่งเศส มีสิ่งที่คุณต้องดำเนินการทันที |
1. ติดต่อสถาบันการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อ เพื่อยืนยันการลงทะเบียนของคุณ |
2. รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (Préfecture) เพื่อยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชนชั่วคราว หรือ บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Carte de séjour) |
 |
การติดต่อสถาบันการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อ |
 |
นักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาฝรั่งเศสทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนทุกปี ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส สถาบันการศึกษาระดับสูงอื่น ๆ มีระเบียบวิธีและขั้นตอนของตนเอง แต่ทุกแห่งก็ต้องมีการลงทะเบียนเป็นรายปีเช่นเดียวกัน |
การลงทะเบียนเรียน |
ในประเทศฝรั่งเศส ปีการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือน
มิถุนายน การสมัครต้องติดต่อฝ่ายทะเบียนของมหาวิทยาลัยที่คุณสมัครเข้าเรียน โดยตรง หรือทางไปรษณีย์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่จะต้องจัดเตรียม นักศึกษาทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนทุกปี |
ขั้นตอนในการลงทะเบียนเรียนมี 2 ขั้นตอนคือ |
1. การขึ้นทะเบียนนักศึกษา (Administrative enrolment) |
2. การลงทะเบียนเรียน (Pedagogical enrolment) |
การขึ้นทะเบียนนักศึกษา (Administrative enrolment) หลังจากได้รับการตอบรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว คุณสามารถขึ้นทะเบียนเป็น
นักศึกษาได้โดยกรอกแบบฟอร์มได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม มหาวิทยาลัยจะแจ้งกำหนดการส่งแบบฟอร์มและการชำระค่าเล่าเรียน นักศึกษาจะต้องขอใบรับรองการลงทะเบียนเรียนเพื่อใช้ในการขอใบอนุญาตที่พัก (Resident Card) ภายหลังการลงทะเบียน นักศึกษาจะได้รับบัตรนักเรียนสำหรับตลอดปีการศึกษา
(ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง วันที่ 30 กันยายนในปีถัดไป) |
ค่าลงทะเบียนเรียน ค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 133 - 762 ยูโร รวมค่าธรรมเนียมการใช้ห้องสมุด นอกจากนี้ค่าประกันสุขภาพนักศึกษาอีก 171 ยูโร ในบางสาขาอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าลงทะเบียนทางไกล ค่าเอกสาร หรือวิชาเรียนร่วมอื่น ๆ |
การลงทะเบียนเรียน (Pedagogical enrolment) เป็นขั้นตอนที่สองและขั้นตอนสุดท้ายในการลงทะเบียนที่ให้สิทธิ์ในการเข้าชั้นเรียนและการรับรองเมื่อคุณอยู่นอกประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้การลงทะเบียนไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และคุณจะต้องจดทะเบียนที่ "Unité de Formation et de Recherche, UFR " ซึ่งดูแลวิชาเรียนของคุณ นักศึกษาจะเลือกวิชาเรียน จำนวนวิชา กลุ่มการทำงาน และตารางเวลาเรียน นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลโดยตรงกับสถาบันระดับสูงต่าง ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย
รวมถึงขั้นตอนการสมัครเข้าเรียนและปฏิทินการศึกษา |
 |
สถาบันการศึกษาระดับสูงอื่น ๆ |
 |
สถาบันการศึกษาระดับสูงอื่น ๆ มีอิสระในการจัดทำขั้นตอนของการลงทะเบียนนักศึกษาและการลงหน่วยกิตสำหรับการศึกษาของตนเอง ซึ่งควรจะต้องให้คุณทราบล่วงหน้าก่อนการเดินทางออกจากประเทศของคุณ ควรระมัดระวังและให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อเอกสารที่คุณต้องนำไปแสดง ซึ่งส่วนมากมักต้องใช้เอกสารต้นฉบับ (ตัวจริง) โดยไม่สามารถใช้สำเนาไปแสดงแทนได้ |
 |
เอกสารประกอบการลงหน่วยกิตเข้ารับการศึกษาของมหาวิทยาลัย |
 |
 เอกสารยืนยันการจัดเตรียมสำหรับระดับการศึกษาที่คุณต้องการ
ลงหน่วยกิตเข้ารับการศึกษา (ปริญญาบัตร ทรานสคริปต์ หนังสือรับรองของ มหาวิทยาลัย) คุณจะต้องนำส่งเอกสารต้นฉบับพร้อมคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับการรับรองจากสถานทูตฝรั่งเศส สถานกงสุล หรือหน่วยงานของรัฐ |
 เอกสารรับรองความสามารถทางภาษาฝรั่งเศส (เช่น หนังสือรับรองการสอบภาษาฝรั่งเศส) |
 เอกสารยืนยันของกองตรวจคนเข้าเมือง (หนังสือเดินทางและวีซ่า) |
 เอกสารยืนยันการประกันสุขภาพ (สมาชิกภาพในกลุ่มนักศึกษา หรือกรมธรรม์ส่วนบุคคล) |
 หนังสือรับรองสุขภาพ นักศึกษาทุกเชื้อชาติ จะต้องผ่านการตรวจร่างกาย ค่าตรวจร่างกายประมาณ 55 ยูโร |
 รูปถ่ายสำหรับทำบัตร 3 - 6 รูป |
บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Carte de séjour) |
 |
ขั้นตอนที่ 2 ที่คุณต้องกระทำทันทีเมื่อไปถึงฝรั่งเศสก็คือ การขอรับบัตรประจำตัวนักศึกษาจากเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น นักศึกษาต่างชาติที่ไปศึกษาต่อในฝรั่งเศสนานเกินกว่า 3 เดือน จะต้องมีบัตรประจำตัวนักศึกษาชั่วคราว ซึ่งมีคำว่า étudiant ปรากฏอยู่ โดยขอรับได้จากเจ้าหน้าที่บริหารส่วน
ท้องถิ่นในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่ บัตรประจำตัวนักศึกษาชั่วคราวจะมีอายุไม่เกินกว่าอายุหนังสือเดินทาง หรือระยะเวลาการศึกษา บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Carte de séjour) จะต้องต่ออายุเป็นรายปี ทุก ๆ ปี และการช่วยเหลือในการหาที่พักอาศัย จะต้องมีบัตรประจำตัวนักศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนจะแจ้งให้ทราบว่า จะไปขอรับบัตรประจำตัวนักศึกษาได้ที่ไหน และมีหลายสถาบันที่เตรียมแบบฟอร์มการขอรับบัตรประจำตัวนักศึกษาไว้ให้กับ
นักศึกษาของตน |
 |
กำหนดเวลา |
นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางมาเพื่อศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสนานกว่า 3 เดือนจะต้องขอใบอนุญาตที่พักชั่วคราว (Resident Card) ที่ที่ทำการเทศบาล Préfecture ประจำเมืองต่าง ๆ ควรจะยื่นคำร้องให้เร็วที่สุดเมื่อเดินทางไปถึง |
 |
อายุบัตร |
อายุบัตรขึ้นอยู่กับอายุของหนังสือเดินทาง และไม่เกินกว่าระยะเวลาการศึกษาของคุณ Resident Card มีอายุไม่เกินกว่า 1 ปี อย่างไรก็ดี คุณสามารถขอต่ออายุบัตรได้ โดยยื่นเรื่องโครงการการศึกษาและผลการเรียนของคุณซึ่งจะเป็นเอกสารสำคัญที่ที่ทำการเทศบาลจะต่ออายุให้ |
 |
สถานที่ติดต่อ |
- ในปารีสจะต้องติดต่อที่แผนกต้อนรับสำหรับชาวต่างชาติที่
Préfecture de Police (13 rue Miollis, 75015 Paris เดินทางโดยรถไฟใต้ดินสาย 6 หรือรถโดยสารประจำทางเบอร์ 80, 39, 70, 89) เปิดทำการวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี เวลา 8.45-16.30 น. วันศุกร์ เวลา 8.45-16.00 น. พร้อมเอกสารที่เป็นหลักฐานว่าเป็นชาวต่างชาติในประเทศฝรั่งเศส เช่น วีซ่าและจดหมายลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย หรือติดต่อที่เบอร์ 01 53 71 51 68 เวลา 08.35-17.25 น. ทั้งนี้สถาบันการศึกษาบางแห่งจะรับดำเนินเรื่องให้กับนักศึกษา ดังนั้นนักศึกษาจึงไม่จำเป็นต้องไปที่ Préfecture de Police แต่จะต้องไปที่ศูนย์ที่รับเรื่องไว้แทน |
- สำหรับผู้ที่อยู่ชานเมืองปารีส นักศึกษาจะต้องไปที่สถานีตำรวจของ ท้องที่ |
- ในต่างจังหวัด นักศึกษาจะต้องไปที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด หรือสถานีตำรวจย่อยท้องถิ่น หรือสำนักงานใหญ่ |
 |
การรับบัตร |
ภายหลังยื่นแบบฟอร์มแล้ว นักศึกษาจะได้รับใบตอบรับและใบนัดให้มารับบัตร ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องมารับบัตรด้วยตนเอง นักศึกษาจะต้องนำเอาบัตรนี้ไปยื่นต่อฝ่ายทะเบียนเพื่อรับบัตรนักศึกษา |
 |
 |
 |
เอกสารที่จำเป็นในการขอ Carte de séjour |
 |
การขอครั้งแรก |
1. หนังสือเดินทาง เอกสารตัวจริงพร้อมสำเนา 2 ฉบับ ของหน้าที่แจ้งวันเกิด สถานที่เกิด วันหมดอายุของหนังสือเดินทาง และวีซ่า ในกรณีสถานภาพสมรสหรือหย่าแล้ว และถ้าวันเกิดหรือชื่อกลางไม่ปรากฏในหนังสือเดินทาง คุณจะต้องแนบใบสมรสและใบหย่า หรือใบรับรองจากสถานกงสุล ทั้งเอกสารตัวจริงและสำเนา |
2. เอกสารรับรองการศึกษา เอกสารตัวจริงพร้อมสำเนาของใบรับรองการทำประกันสุขภาพ หลักฐานการลงทะเบียน และการลงทะเบียนล่วงหน้าในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือโรงเรียน หากการเรียนของคุณไม่ตรงกับสาขาที่จบจากมหาวิทยาลัยจะต้องแนบใบรับรองจากมหาวิทยาลัย วิชาเรียน ระยะเวลาการศึกษา ระยะเวลาของหลักสูตร จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ และจำนวนค่าธรรมเนียมที่จ่ายต่อเทอม |
3. หลักฐานรับรองที่อยู่ถาวร เอกสารตัวจริงพร้อมสำเนา |
- ในกรณีที่เช่าอพาร์ทเมนต์หรืออยู่ด้วยตนเอง จะต้องแนบใบเสร็จชำระค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้า หรือสัญญาประกันภัยที่พัก |
- ในกรณีที่พักอยู่กับผู้รับรอง จะต้องขอเอกสารจากเจ้าของที่พัก คือ สำเนาหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน หรือ Resident Card เพื่อเป็นหลักฐานว่าพักอยู่ที่เดียวกัน หากเจ้าของที่พักไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศในสหภาพยุโรป จะต้องมีหลักฐานการชำระค่าไฟฟ้าและแก๊สด้วย |
- ในกรณีที่พักอยู่ใน Hostel ต้องมีใบรับรองจากผู้อำนวยการของ
บ้านพักนั้น |
4. ในกรณีที่ไม่ได้เป็นประชากรในสหภาพยุโรป (ยกเว้นผู้ที่มาจาก
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) จะต้องมีหลักฐานยืนยันว่าได้รับวีซ่าระยะยาวที่
เหมาะสมกับสถานะของคุณ ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าระยะยาวที่สามารถใช้ยื่นขอ Resident Card หรือวีซ่าชั่วคราวสำหรับ 3 - 6 เดือน หรือวีซ่าชั่วคราวระบุว่า étudiant-concours ที่ออกให้กับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการเข้าเรียนขึ้นอยู่ว่านักเรียน นักศึกษาคนนั้นผ่านการคัดเลือกหรือไม่ |
5. หลักฐานรับรองทางการเงิน ประชากรในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปใช้ใบรับรองที่ระบุว่าได้รับเงินสนับสนุนเพียงพอในแต่ละเดือน (สถิติประชากรชาวฝรั่งเศสซึ่งมีค่าใช้จ่ายประจำเดือนประมาณ 426.86 ยูโร) สำหรับนักเรียนต่างชาติที่ได้รับทุนจากประเทศของตน หรือนักเรียนแลกเปลี่ยนในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ยื่นสำเนาการได้รับทุนด้วย |
6. หลักฐานยืนยันการทำประกันสังคม เอกสารตัวจริงและสำเนา
ประชาชนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะต้องทำประกันสุขภาพที่
ครอบคลุมในกรณีที่เจ็บป่วยหรือการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ ขณะที่พักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส |
ประชาชนที่ไม่อยู่ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะต้องทำประกันหรือบัตรประกันสังคม บัตรนักศึกษาหรือเอกสารที่ระบุว่าขึ้นกับประกันสังคมของฝรั่งเศสหรือประเทศในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป หรือมีหลักฐานยืนยันว่านักศึกษา
มีประกันที่ครอบคลุมหมด รวมถึงระบุวันที่หมดอายุของสัญญา และรายละเอียดความครอบคลุมของประกัน (อย่างน้อยครอบคลุมค่ายา ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ถูกส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การรักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ) |
7. รูปถ่ายขนาดสำหรับทำหนังสือเดินทาง (3.5 ซม. x 4.5 ซม.)
3 ใบ |
8. ซองจดหมาย เขียนชื่อที่อยู่และติดแสตมป์ |
 |
การต่ออายุบัตร |
1. หนังสือเดินทาง (ขั้นตอนเดียวกับการขอครั้งแรก) |
2. หลักฐานรับรองที่พักถาวร (ขั้นตอนเดียวกับการขอครั้งแรก) |
3. บัตร Resident Card ฉบับเดิม ทั้งเอกสารตัวจริงและสำเนา |
4. เอกสารรับรองจากสถาบันการศึกษา เอกสารตัวจริงและสำเนา รวมทั้งเอกสารอื่นที่เป็นหลักฐานว่านักศึกษาได้เข้าเรียนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเช่น ใบรับรองการเข้าห้องเรียน ผลคะแนนการศึกษา และรายชื่อวิชาที่ลงเรียนตั้งแต่เข้ามาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส รวมถึงแผนการเรียนสำหรับปีถัดไป |
5. หลักฐานยืนยันสถานะทางการเงิน สำหรับปีการศึกษาปัจจุบัน
นักศึกษาจะต้องแนบเอกสารทั้งหมดที่แสดงถึงจำนวนทุนที่เคยได้รับ สำหรับ
ปีการศึกษาต่อมา |
นักเรียนทุน จะต้องมีเอกสารทางราชการเพื่อแสดงจำนวนเงินทุนที่จะได้รับ ตลอดระยะเวลาของทุน และรายละเอียดวิชาที่เรียน |
นักศึกษาอื่น ๆ ซึ่งได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากผู้รับรองในฝรั่งเศส จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ จดหมายเขียนและลงลายมือชื่อของ
ผู้รับรอง หรือบริษัทที่ให้การสนับสนุน สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือ
เดินทาง หลักฐานรายได้ สลิปเงินเดือน 3 เดือนหลัง หรือ หลักฐานเงินบำนาญ และรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ครั้งหลังสุดของผู้รับรอง |
นักศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศ จะต้องจัดเตรียมเช็คเดินทาง ใบเสร็จการแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงว่าได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์กรในต่างประเทศ และแจ้งจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน |
นักศึกษาที่ทำงานเต็มเวลาและพาร์ทไทม์ (ยกเว้นชาวโมนาโค
อัลจีเรีย กาบง โตโก) จะต้องจัดเตรียมใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกโดยสหภาพแรงงานต่างชาติ (Foreign Workers Union หรือ Main dOeuvre Etrangère) และสลิปเงินเดือน 3 เดือนสุดท้าย |
นักศึกษาที่ทำงานเป็น "Au Pair" จะต้องจัดเตรียมสัญญาการ
ทำงานหรือจดหมายรับจากครอบครัวซึ่งได้รับการอนุมัติจาก Main dOeuvre Etrangère |
6. หลักฐานยืนยันการทำประกันสังคม เอกสารตัวจริงและสำเนา
(ขั้นตอนเดียวกับการขอครั้งแรก) |
7. รูปถ่ายขนาดสำหรับทำหนังสือเดินทาง (3.5 ซม. x 4.5 ซม.)
3 ใบ |
8. ใบรับรองแพทย์ เพื่อเป็นหลักฐานการตรวจร่างกาย จาก OMI (Office des Migrations Internationales) ซึ่งจำเป็นสำหรับการต่ออายุครั้งแรกเท่านั้น |
***รายละเอียดเพิ่มเติมของ Préfecture de Police ดูจาก www.interieur.gouv.fr |
งานส่วนนี้เป็นงานบริการของ DDTEF (Directions Départementales du Travail, de lEmploi et de la Formation) เว็บของ Ministry of Employment and Solidarity มีรายการทั้งหมดของ DDTEF และ
Préfectures de Police ที่ www.travail.gouv.fr/adresses/adresses_f.html |
 |
 |
 |
Check List สำหรับเอกสารสำคัญ |
1. หนังสือเดินทาง (Passeport) |
2. วีซ่านักศึกษาระยะยาว (Visa long séjour) |
3. สูติบัตรฉบับแปลภาษาฝรั่งเศส (Acte de naissance) |
4. รูปถ่ายขนาด 3.5 x 4.5 ซม. ประมาณ 10 รูป |
5. ประกาศนียบัตรรับรองสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย และปริญญาบัตรฉบับจริงและฉบับแปล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย |
6. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) แสดงผลคะแนนเฉลี่ยสะสม รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานวิจัยหรือโครงงาน (Lettre de motivation หรือ Projet détudes) เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาระดับสูง |
7. จดหมายรับรองจากมหาวิทยาลัย ว่านักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวแล้ว (Attestation de pré-inscription) |
8. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรรับรองสถานภาพทางการเงิน (Bank Statement หรือ Justificatifs bancaires) |
9. เอกสารตัวจริงที่ใช้ยื่นขอวีซ่า อาจขอเรียกตรวจได้ที่ศุลกากร และเมื่อใช้ขอบัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Carte de séjour) |
10. จดหมายรับรองจากสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อรับรองสถานภาพของ
นักเรียนทุนรัฐบาลฝรั่งเศส |
 |
|