eneral Information
ข้อมูลทั่วไปของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์ (2000 ปี)
50 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ. 481 พวกโกล (เชื้อสายเซลท์ : Celtes) ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงโรม เรียกว่า ยุคแห่งอารยธรรมโกลผสมโรมัน (Gallo-romain)
481-987 เป็นช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมโรแว็งเชียง (Mérovingien) และกาโรแล็งเชียง (Carolingien) ติดตามด้วยการรุกรานโดยศัตรูจากทิศตะวันออก Hugues Capet ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสและตั้งราชวงศ์กาเปเชียงขึ้น
ศตวรรษที่ 11-13 เป็นช่วงแห่งวิวัฒนาการทางการเกษตรและการค้า เมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อำนาจของสถาบันกษัตริย์อยู่ในมือขุนนาง เป็นยุคที่นักบวชมีอำนาจในทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม สงครามครูเสดเกิดในยุคน
ศตวรรษที่ 14-15 เกิดโรคระบาด (กาฬโรคในปี 1347) ประเทศต้องประสบทุพภิกขภัยและสงครามกลางเมือง เกิดการแข่งขันกันระหว่างฝรั่งเศส-อังกฤษ เกิดสงคราม 100 ปี โจนออฟอาร์ค (Jeanne d’Arc) อยู่ในช่วงนี้ (1425-1431) ต่อมา ได้มีการรวมตัวของดินแดนต่าง ๆ และสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักร มีการพัฒนาด้านการเกษตร ประชากร และการค้า เกิดสงครามกับอิตาลีครั้งแรกและเข้าสู่ช่วงแรกของยุค เรอแนสซองส์ (Renaissance) ในฝรั่งเศส
ศตวรรษที่ 16 ยุคปฏิรูป เป็นช่วงแห่งสงครามระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ รัชสมัยของอ็องรีที่ 4 (Henri IV : 1589 - 1610) มีการออกกฎหมายให้เสรีภาพทางความคิดและการนับถือศาสนาซึ่งเรียกว่า Edit de Nantes (1589)
1610-1715 รัชสมัยของพระเจ้าหลุย์ที่ 13 และ 14 (Louis XIII et Louis XIV) ช่วงแห่งความรุ่งเรืองของระบบกษัตริย์ การแผ่อิทธิพลและการเผยแพร่วัฒนธรรมฝรั่งเศสในยุโรป เข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองทางการค้าทางทะเล
ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ 16 เป็นช่วงแห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและประชากร หรือศตวรรษแห่งแสงสว่าง ระบบกษัตริย์เริ่มถูกโจมตี
1789-1799 ปฏิวัติฝรั่งเศส การประกาศสิทธิมนุษยชนและสิทธิของประชาชน (26 สิงหาคม ค.ศ. 1789) การยกเลิกระบบกษัตริย์ (1792) การตั้งสาธารณรัฐที่หนึ่ง การจัดระบบบริหารประเทศ (Directoire) และการเข้าสู่ยุคการปกครองระบอบใหม่ (Consulat)
1799-1815 นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) ขึ้นเถลิงอำนาจ โดยเริ่มจากได้รับสถาปนาเป็น Consul ที่ 1 และจักรพรรดิ (1804) ตามลำดับ มีการก่อตั้งสถาบันบริหารประเทศที่ทันสมัย มีการตรากฎหมาย ต่อมาได้เกิดสงครามในยุโรป อันเป็นที่มาแห่งการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิ นโปเลียน
1815-1848 การฟื้นฟูระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (หลุยส์ที่ 18 ชารลส์ที่ 10) เกิดการปฏิวัติในปี 1830 อันตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป เป็นยุคแห่งความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเดินรถไฟเริ่มมีในยุคนี้ และเป็นยุคแรกเริ่มของการตั้งอาณานิคม
1848-1852 เกิดการปฏิวัติ การสถาปนาสาธารณรัฐที่ 2 มีการตรากฎหมายแรงงาน สื่อมวลชน และการศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก
1852-1870 หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต พระนัดดาของนโปเลียน ที่ 1 ทำการปฏิวัติ เข้าสู่จักรวรรดิที่ 2 เสรีภาพทางการเมือง (1860) เป็นยุคทองแห่งการขยายอาณานิคม
1870-1875 สงครามระหว่างฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ทำให้ฝรั่งเศสต้องเสียดินแดนส่วนที่เป็นอัลซาส (Alsace) และลอร์แรน (Lorraine) ในเวลาต่อมา นโปเลียนที่ 3 หมดอำนาจ มีการก่อตั้ง Commune de Paris (1871) การ สถาปนาสาธารณรัฐที่ 3
1875-1914 ยุคแห่งความเจริญสูงสุดแห่งระบบรัฐสภา การยอมรับและให้เสรีภาพแก่สหบาล กรรมกร การแยกศาสนาออกจากรัฐ (1905) เป็นยุคแห่งความเจริญทางการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ
1914-1918 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 พันธมิตรได้ชัยชนะได้อัลซาส และลอร์แรนกลับคืน มีการทำสัญญาสงบศึก
1919-1939 เป็นช่วงแห่งการบูรณะประเทศ และเป็นช่วงที่กรุงปารีสเฟื่องฟูทางศิลปกรรม เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเป็นที่มาของขบวนการทางการเมืองที่เรียกว่า Front Populaire (1936)
1939-1945 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสพ่ายแพ้และถูกยึดครอง นายพลเดอโกล (Général de Gaulle) นำขบวนการต่อต้านจากลอนดอน และแอลจีเรีย ฝ่ายพันธมิตรได้ชัยชนะในที่สุด (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945)
1946-1957 เข้าสู่สาธารณรัฐที่ 4 ยุคแห่งการบูรณะฟื้นฟูประเทศ การขยายตัวทางด้านประชากรและเศรษฐกิจ การปลดปล่อยอาณานิคม ก่อตั้งประชาคมยุโรป (สนธิสัญญาแห่งโรม 1957)
1958-1968 นายพลเดอโกล คืนสู่อำนาจ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 โดยการลงประชามติ (28 กันยายน ค.ศ. 1958) การก่อตั้งองค์การตลาดร่วม (1959) การลงนามสนธิสัญญาแห่งอาวิย็อง (Accords d’Evian) เป็นการสิ้นสุดสงครามแอลจีเรีย (18 มีนาคม ค.ศ. 1962) การแก้ไข รัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วยการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง (ประชามติวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962) การลงนามสนธิสัญญาแห่งเอลิเซ (23 มกราคม ค.ศ. 1963) ระหว่างประธานาธิบดีอเดนาวร์ (Adenauer) ของ เยอรมัน กับนายพลเดอโกล เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างเยอรมัน-ฝรั่งเศส ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นยุคแห่งความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดความปั่นป่วน ภายในประเทศเกี่ยวกับสภาพสังคม (พฤษภาคม ค.ศ. 1968)
1969-1981 สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ปอมปิดู (Georges Pompidou : 1969-1974) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การก่อตั้งประชาคมยุโรปดำเนิน ต่อไป มีความพยายามครั้งแรกในการที่จะให้องค์การตลาดร่วมยุโรปมีระบบเงินตราที่สอดคล้องกันโดยการตั้งระบบ Serpent ขึ้นเมื่อ 10 เมษายน ค.ศ. 1972 มีการขยายองค์การตลาดร่วมโดยการรับ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรเข้าเป็นภาคีเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1973 และเกิด วิกฤติการณ์น้ำมันครั้งแรก สมัยประธานาธิบดีวาเลรี ยิสการด์ เดสแต็ง (Valéry Giscard d’Estaing 1974-1981) มีการสานต่อในเรื่ององค์การตลาดร่วมยุโรป การลงนามในสนธิสัญญาแห่งโลม (Lom) ฉบับที่ 1 เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 ก่อตั้งระบบการเงินยุโรปเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 การเข้าเป็นภาคีของกรีซ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1981 การออกกฎหมายให้ ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง การออกกฎหมายทำแท้งโดยสมัครใจเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 1975 ซึ่งเสนอโดย นางซีโมน แวย (Simone Veil) เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 เงินเฟ้อและคนว่างงานสูงขึ้น
1981-1995 สมัยประธานาธิบดี ฟร็องซัวซ์ มิตแตร์ร็องด์ (François Mitterrand) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 1981 ครั้งที่ 2 ในปี 1988 มีการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประหารชีวิต (1981) ออกกฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจ (1982) การให้เสรีภาพแก่สถานีวิทยุและโทรทัศน(1982) การขยายตัวของประชาคมยุโรปโดยสเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นภาคีเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1986 การประกาศให้ L’Acte Unique มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1987 และการให้สัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรปโดยการออกเสียงประชามติ (20 กันยายน ค.ศ. 1992)
1986-1988 นายชาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1993-1995 นายเอดูอาร์ด บาลลาดูร์ (Edouard Balladur) ได้รับ แต่งตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
7 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 นายชาคส์ ชีรัค ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสสมัยแรก
ตุลาคม ค.ศ. 1997 การลงนามสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม
1 มกราคม ค.ศ. 1999 การเริ่มต้นของสกุลเงินยูโร (Euro : € )
5 มิถุนายน ค.ศ. 2002 นายชาคส์ ชีรัค ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2
6 มิถุนายน ค.ศ. 2002 นายฌองปิแอร์ ราฟฟาแรง (Jean-Pierre Raffarin) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นโยบายการต่างประเทศของฝรั่งเศส
นโยบายการต่างประเทศของฝรั่งเศสตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ สิทธิของประชาชนในการตัดสินใจด้วยตนเอง การเคารพในสิทธิมนุษยชน และหลักการประชาธิปไตย การเคารพในกฎข้อบัญญัติและความร่วมมือระหว่างประเทศ อันเป็นที่มาของเจตนารมณ์ของฝรั่งเศสในการที่จะธำรงไว้ซึ่งเอกราชของชาติ พร้อมกับพัฒนาความสามัคคีปรองดองในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ
การก่อตั้งสหภาพยุโรป
นับแต่ปี 1945 โครงการรวมประเทศยุโรปเป็นนโยบายหลักของนโยบายการต่างประเทศฝรั่งเศส ด้วยเหตุผลสำคัญหลายประการ อาทิ ความ ต้องการให้เกิดสันติภาพและประกันความมั่นคงของรัฐ สร้างความเข้มแข็งให้รัฐบาลประชาธิปไตย สถาปนาเขตเศรษฐกิจและเงินตราร่วมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของยุโรป นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายพล เดอโกล ประธานาธิบดีจอร์จ ปอมปิดู ประธานาธิบดีวาเลรี ยิสการด์ เดสแต็ง ประธานาธิบดี ฟร็องซัวซ์ มิตแตร์ร็องด์ และประธานาธิบดีชาคส์ ชีรัค ต่างดำรงการปฏิบัตินโยบายดังกล่าวให้เป็นจริงขึ้นมา และการพัฒนาไปสู่ การเป็นมหาอำนาจทางเศษฐกิจและการยอมรับของการเมืองระหว่างประเทศ
ในด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มูลรวมของประชาชาติสหภาพยุโรป มีมูลค่าถึง 8,346.3 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 6,112 พันล้านยูโร) ในปี 1988 ด้วยความสามารถของประเทศภาคี ซึ่งเริ่มจาก 6 ประเทศ เป็น 12 และ 15 ในปัจจุบัน มูลค่าดังกล่าวเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์มูลรวมประชาชาติของทวีปอเมริกาเหนือรวมกันทั้งหมด และสูงกว่าของทวีปเอเชีย
สิ่งท้าทายที่สหภาพยุโรปกำลังกระทำอยู่ในขณะนี้คือ การทำให้ สหภาพยุโรปมีเอกลักษณ์ทางการเมืองและเงินตราที่แท้จริง เตรียมการในการเพิ่มจำนวนประเทศภาคี ซึ่งมีหลายประเทศได้ยื่นความจำนงขอเข้าเป็นภาคีไว้ ฝรั่งเศสได้ประกาศเจตนารมณ์ในเรื่องนี้ในการประชุมระหว่างรัฐบาลนานาประเทศและบรรลุผลด้วยการลงนามในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม เมื่อ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นผลมาจากความมุ่งมั่น มาตรการสร้างความ เข้มแข็งทางสังคมในนโยบายและทางการปฏิบัต
1 มกราคม ค.ศ. 1999 เงินตราสกุลยูโรได้ออกสู่ตลาดการเงิน ธนาคาร และบริษัทห้างร้านอย่างเต็มรูปแบบ
1 มกราคม ค.ศ. 2002 ฝรั่งเศสและประเทศภาคีอื่น ๆ ได้นำธนบัตรและเหรียญเงินสกุลยูโรออกใช้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 4 ของการก่อตั้งสหภาพ เศษฐกิจและเงินตรา (EMU : Economic and Monetary Union)
ความมั่นคงสากล
ในด้านความมั่นคง สงครามเย็นที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปี และช่วงแห่งความผันผวนที่ตามมา ทำให้ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย อันมีฝรั่งเศสเป็นแกนนำ ต้องแบกความรับผิดชอบในด้านนี้สูงมาก นอกจากจะเป็นภาคี สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) แล้วฝรั่งเศสยังเป็นภาคีของสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) องค์การเพื่อความร่วมมือและความมั่นคงในยุโรป (OSCE) และกองกำลังยุโรป ซึ่งมีทหารฝรั่งเศสร่วมปฏิบัติการอยู่ด้วยเกือบ 13,000 คน และในฐานะที่เป็น 1 ใน 5 มหาอำนาจทางนิวเคลียร์ อันประกอบด้วย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ฝรั่งเศสจึงยึดถือนโยบายการป้องปรามทางนิวเคลียร์ และปรับให้เข้ากับนโยบายการเมืองรูปแบบ ใหม่ ๆ และขยายขอบเขตการป้องกันตนเองออกไปให้ครอบคลุมทั่วยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินความพยายามห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในทุกรูปแบบ รวมทั้งการควบคุมและการลดกำลังอาวุธนิวเคลียร์
บทบาทต่อสหประชาชาต
ในด้านนโยบายระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสยึดหลักการเคารพต่อ จุดประสงค์และหลักการขององค์การสหประชาชาติ โดยแท้จริงแล้วหลักการขององค์การสหประชาชาติคือ ภาพจำลองของอุดมการณ์ที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสใช้สืบต่อกันมานั่นเอง
นับตั้งแต่ปี 1945 ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนองค์การสหประชาชาติเสมอมา และเป็นผู้ให้การสนับสนุนกองทุนอันดับ 4 ในปี 2001 สนับสนุนเงินทุน 68.85 ล้านยูโร เข้าสู่งบประมาณปกติ และ 125.55 ล้านยูโร สำหรับองค์การที่ ทำหน้าที่พิเศษเฉพาะ นอกจากนั้น ในฐานะที่เป็นสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อันเป็นองค์กรสูงสุดขององค์การนี้ ฝรั่งเศสก็ได้ เข้าร่วมในปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติจำนวนมาก (ในตะวันออกกลาง, แอฟริกา, กัมพูชา, อดีตยูโกสลาเวีย, คองโก, เอธิโอเปีย, เอริเตรีย, เซียรา ลีโอน ฯลฯ) พร้อมทั้งให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับปฏิบัติการเพื่อสันติภาพอีก 261.75 ล้านยูโร
นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังให้การสนับสนุนการปฏิบัติการช่วยเหลือพัฒนาของสหประชาชาติ โดยเฉพาะด้านการบริจาคและการช่วยเหลือทางเทคนิคใน โครงการหลัก ๆ คือ โครงการต่อต้านความรุนแรง (UNDP), โครงการ คุ้มครองเด็ก (UNICEF), โครงการต่อต้านยาเสพย์ติด (UNDCP) และ โครงการช่วยเหลืออาหาร (WFP)
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
นโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศของฝรั่งเศส มีพื้นฐานบนบทบาท (Influence) และความร่วมมือซึ่งกันและกัน (Solidarity) โดยมีนโยบาย 4 ประการคือ
การช่วยเหลือพัฒนา
ฝรั่งเศสแสดงให้เห็นถึงความพยายามเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันความช่วยเหลือของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในการพัฒนาประเทศยากจนเป็นมูลค่า 4.42 พันล้านยูโร หรือ 0.33% ของ GDP ของประเทศฝรั่งเศส ในปี 2000 เปรียบเทียบกับสมาชิกประเทศอื่น ๆ ของคณะกรรมการช่วยเหลือพัฒนาของ OECD ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพียง 0.22%
ภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศยากจนที่มีภาวะหนี้สินสูง (HIPC : Heavily Indebted Poor Countries) ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือระดับทวิภาคีในการปลดเปลื้องภาระหนี้สินและการพัฒนาเป็นเงิน 4.7 พันล้านยูโร
การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษาฝรั่งเศส
ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศส 224 แห่ง ใน 91 ประเทศ และเครือข่ายสมาคมฝรั่งเศส 263 แห่ง
นโยบายเผยแพร่ภาษาฝรั่งเศส ในกลุ่มบุคคลเป้าหมายประมาณ 70 ล้านคน ใน 166 ประเทศ ครูสอนภาษา 680,000 คน
องค์กรการศึกษาฝรั่งเศสในต่างประเทศ (AEFE : Agency for French Studies Abroad) มีกิจกรรมความร่วมมือในโรงเรียนฝรั่งเศส 270 แห่ง ทั่วโลก
ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา
ฝรั่งเศสสนับสนุนทั้งด้านการศึกษาวิจัยร่วมระหว่างประเทศ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์กับนานาประเทศ โดยมีศูนย์ สังเกตการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์วิจัยของฝรั่งเศส 26 แห่งในต่างประเทศ
ความร่วมมือทางด้านการศึกษา มีหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส 200 หลักสูตรทั่วโลก และให้การสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติในฝรั่งเศสที่มีเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดคือ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษา 172,000 คน
ประชาสัมพันธ์ฝรั่งเศส
การเผยแพร่ฝรั่งเศส ผ่านสื่อภาพและเสียงในต่างประเทศกำลังขยายตัวจากการดำเนินการของภาคผู้ปฏิบัติ เช่นโทรทัศน์ภาษาฝรั่งเศสช่อง TV5 และสถานีวิทยุ Radio France International (RFI) ได้กลายเป็นนโยบายลำดับสำคัญของรัฐบาล
ฝรั่งเศสยังสนับสนุนในการเผยแพร่ภาพยนตร์และหนังสือฝรั่งเศส โดยในปี 1999 มีการส่งออกภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่สร้างใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 60%
บทบาทด้านมนุษยธรรม
นโยบายการต่างประเทศของฝรั่งเศสกำหนดบทบาทกิจกรรมด้านมนุษยธรรมไว้อย่างชัดเจน เพื่อดำเนินการกิจกรรมด้านมนุษยธรรม ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในอันที่จะดำเนินกิจการนี้ ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา และกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อมนุษยธรรม
กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ให้ความร่วมมือผ่านหน่วยงาน ปฎิบัติของรัฐ Sécurité Civile (การช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติจากธรรมชาติฉุกเฉิน การกำจัดวัตถุระเบิด ฯลฯ) Samu Mondial (หน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน - สาขาระหว่างประเทศ) และบริการด้านสุขภาพของกองกำลังทหาร ในปี 2000/2001 สนับสนุนงบประมาณจำนวน 9.3 ล้านยูโร
จากกองทุนดังกล่าว NGO ฝรั่งเศสในต่างประเทศ ได้รับงบประมาณ 4.12 ล้านยูโรในการดำเนินการ
ในปี 2000 ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนงบประมาณ 52 ล้านยูโรสำหรับโครงการระหว่างประเทศขององค์การด้านมนุษยธรรมต่าง ๆ ของสหประชา--ชาติ เช่น UNHCR, UNICEF, WFP, UNRWA และ ICRC
นอกจากนั้น ฝรั่งเศสสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านยูโรสำหรับโครงการของสหภาพยุโรปผ่าน ECHO (European Community Humanitarian Office) ซึ่งเป็น 17% ของงบประมาณ ECHO ทั้งหมด
ฝรั่งเศสให้การช่วยเหลือทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลน ประสบภัยพิบัติตามธรรมชาติ หรือความขัดแย้งทาง การเมือง
กลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie)
ในขณะเดียวกันกับที่การประชาสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม การ แลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคนิค วิทยาการฝรั่งเศสกระตือรือร้นใน การเผยแพร่ภาษาฝรั่งเศสให้แพร่หลาย เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส (131 ล้านคน หรือ 2.5% ของประชากรโลก) ขึ้นเพื่อความร่วมมือกันอย่างแท้จริง
นับตั้งแต่ปี 1986 มีการจัดประชุมสุดยอดกลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส 8 ครั้ง การประชุมสุดยอดของประมุขรัฐของประเทศต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1997 การประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส โฆษกรัฐบาลในด้านการร่วมมือทางสังคมและเศรษฐกิจ โครงการร่วมมือทางภาษา และวัฒนธรรม
การประชุมสุดยอดครั้งที่ 8 มีกลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส 51 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้น ณ เมือง Moncton (Canada) ครั้งล่าสุดจัดขึ้น ณ กรุงเบรุต ในเดือนตุลาคม 2001
ชาวฝรั่งเศสในต่างประเทศ
ในปัจจุบัน มีชาวฝรั่งเศสประมาณ 1,774,200 คน อาศัยอยู่ใน ต่างประเทศ สามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ดังน
ยุโรป (52.7%) 934,444 คน
อเมริกา (25.4%) 450,831 คน
แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง (8.2%) 145,000 คน
แอฟริกา (ใต้ซะฮาราลงไป) (8%) 142,013 คน
เอเชียและหมู่เกาะ (5.7%) 101,919 คน
ชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ชั่วคราว (ช่วงระยะเวลาเฉลี่ย ประมาณ 4 ปี) ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างบริษัทฝรั่งเศสต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำ ต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานด้านมนุษยธรรม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส www.diplomatie.gouv.fr/france/gb/tour/index.html