eneral Information
ข้อมูลทั่วไปของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
พื้นที่ : 550,000 ตารางกิโลเมตร
เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างที่สุดในยุโรปตะวันตก (เกือบ 1 ใน 5 ของ สหภาพยุโรป) มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว้างขวางมาก (เขตเศรษฐกิจเฉพาะ ประมาณ 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ลักษณะภูมิประเทศ : เป็นที่ราบ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด
เทือกเขาที่สำคัญ : ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ (Alpes) ยอดเขาสูงสุดในยุโรปตะวันตก คือ ม็องต์บล็อง : Mont Blanc ซึ่งอยู่ในเขตประเทศฝรั่งเศส สูง 4,807 เมตร เทือกเขาพีรีนีส (Pyrénées) ชูรา (Jura) อาร์แดน (Ardennes) มาสชิฟซ็องทรัล (Massif Central) และโวจ (Vosges)
ชายฝั่งทะเล : มีอาณาเขตติดทะเล 4 ด้าน ได้แก่ ทะเลเหนือ (Mer du Nord) ช่องแคบอังกฤษ (Manche) มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantique) และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Méditerranée) รวมความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ : แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ อากาศแบบมหาสมุทร (ภาค ตะวันตก) แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ภาคใต้) และแบบภูเขา (ภาคกลางและ ตะวันออก)
สิ่งแวดล้อม : เนื้อที่ทำการเพาะปลูกและป่าไม้กว่า 48 ล้านเฮกตาร์ (Hectare) คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 82% ของพื้นที่
พื้นที่ป่าคิดเป็นประมาณ 27% ของพื้นที่ประเทศและเป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปที่มีพื้นที่ป่า รองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ฝรั่งเศสมีพรรณไม้กว่า 136 ชนิด และสัตว์ป่าจำนวนมาก ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมากวางป่าเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 2 เท่าของจำนวนที่มีอยู่เดิม
ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสจัดตั้งวนอุทยานแห่งชาติขึ้น 7 แห่ง เขตสงวนธรรมชาติ 132 แห่ง เขตคุ้มครองพิเศษ 463 แห่ง และเขตคุ้มครองชายฝั่งทะเล 389 แห่ง อุทยานธรรมชาติส่วนภูมิภาคอีก 35 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 7% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ
ฝรั่งเศสใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 22.11 พันล้านยูโร เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อพลเมืองคนละ 378 ยูโร ซึ่ง 3 ใน 4 ส่วน ใช้ไปในด้านการจัดการน้ำและการกำจัดขยะมูลฝอย
ฝรั่งเศสเป็นภาคีของกลุ่มสนธิสัญญาระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามข้อตกลงต่าง ๆ หลายฉบับของสหประชาชาติว่าด้วย ชั้น บรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการต่อสู้ภัยความแห้งแล้ง
ประชากร : 60.7 ล้านคน (สถิติเมื่อปี 2001)
ความหนาแน่นของพลเมือง : 107 คน ต่อตารางกิโลเมตร
ฝรั่งเศสมีชุมชนที่มีประชากรมากกว่า 150,000 คน ถึง 52 แห่ง เมืองใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรก (สถิติปี 2000) คือ
ปารีส (Paris) 9.8 ล้านคน
ลีย็อง (Lyon) 1.4 ล้านคน
มาร์แซย (Marseille) 1.4 ล้านคน
ลีลย์ (Lille) 1.1 ล้านคน
ตูลูส (Toulouse) 0.9 ล้านคน
การปกครอง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสประกอบด้วยประเทศฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 22 มณฑล (Région) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 96 จังหวัด (Département)
จังหวัดโพ้นทะเล (DOM) 4 แห่ง กัวเดอลูป (Guadeloupe) มาร์ตินิค (Martinique) กุยยานหรือเฟรนช์กิอานา (Guyane or French Guiana) และเรอูยอง (Réunion)
ดินแดนโพ้นทะเล (TOM) 4 แห่ง เฟรนช์โพลีนีเซีย (Polynésie Française) นิวคาลิโดเนีย (Nouvelle Calédonie) วอลลิสและฟอร์ตูนา (Wallis et Futuna) และดินแดนในแถบขั้วโลกใต้แอนตาร์กติก
ดินแดนที่มีสถานภาพพิเศษอีก 2 แห่ง คือ มาย็อต (Mayotte) และแซ็งต์ปิแอร์เอมิเกอล็อง (St.Pierre et Miquelon)
สถาบันทางการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958 ได้กำหนดบทบาทความ รับผิดชอบของสถาบันต่าง ๆ ของสาธารณรัฐที่ 5 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง ที่สำคัญคือการกำหนดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยการ ออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง (1962) แก้ไขกฎหมายว่าด้วยความผิดทางอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐมนตรี (1993) ให้มีสมัยประชุมรัฐสภาเพียงสมัยเดียว (1995) ปรับเปลี่ยนฐานะความสัมพันธ์ของนิวคาลิโดเนีย (1998) การก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรายุโรป สิทธิความเท่าเทียมกันของหญิงชายในด้านกระบวนการพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) และการลดระยะเวลาวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000)
สภารัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยสมาชิก 9 คน มีหน้าที่ดูแลให้การเลือกตั้งเป็นไปตาม กฎระเบียบ และตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมาย อื่น ๆ ที่ประกาศออกใช้เพื่อการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดี
ประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ป
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย ชาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 ของสาธารณรัฐที่ 5 ได้รับการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2002
ประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี (รัฐธรรมนูญมาตรา 8) ประธานาธิบดีเป็นประธานคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ประกาศใช้กฎหมายและผู้นำกองทัพ มีสิทธิประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และสามารถใช้อำนาจพิเศษในภาวะวิกฤติ (มาตรา 16)
นายกรัฐมนตรี
ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลกำหนดและดำเนินนโยบายของชาติ โดยต้องสามารถตอบคำถามของรัฐสภา (มาตรา 20) นายกรัฐมนตรีบริหารงานรัฐบาลตามบทบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ (มาตรา 21)
นายฌองปิแอร์ ราฟฟาแรง (Jean-Pierre Raffarin) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2002
รัฐสภา : ประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) มาจากการเลือกตั้ง ทั่วไปโดยตรง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อเดือน 9 และ 16 มิถุนายน 2002
วุฒิสภา (Sénat) มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทางอ้อม ดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยมีการเลือกตั้งทดแทนจำนวน 1 ใน 3 ทุก ๆ 3 ปี การ เลือกตั้ง ครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2001
นอกจากหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลแล้ว สภา ทั้ง 2 จะเป็นผู้ร่างและออกกฎหมาย ในกรณีที่มีการขัดแย้งระหว่างสภาทั้ง 2 ทางด้านนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้มีสิทธิอำนาจชี้ขาด
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 321 คน สังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ ดังนี้
พรรค Rassemblement Pour la République (RPR) 95 ที่นั่ง
พรรคสังคมนิยม Socialiste 83 ที่นั่ง
พรรค Union centriste 53 ที่นั่ง
พรรค Républicains et Indépendants 41 ที่นั่ง
พรรค Rassemblement démocratique et social européen 20 ที่นั่ง
พรรค Communiste, républicain et citoyen 23 ที่นั่ง
ไม่สังกัดพรรคใด ๆ 6 ที่นั่ง
สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 577 คน สังกัดพรรคการเมือง ต่าง ๆ ดังนี้
พรรค Union pour la majorité présidentielle 365 ที่นั่ง
พรรคสังคมนิยม Socialiste 141 ที่นั่ง
พรรค Union pour la Démocratie Française (UDF) 29 ที่นั่ง
พรรค Députés communistes et républicains 22 ที่นั่ง
ไม่สังกัดพรรคใด ๆ 20 ที่นั่ง
เพลงชาติและคำขวัญ
เพลงชาติของฝรั่งเศสเดิมมีชื่อว่า “Chant de guerre pour l’armée du Rhin” แต่งขึ้นที่เมืองสตราบูรก์ (Strasbourg) ในปี ค.ศ. 1792 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “La Marseillaise” และใช้เป็นเพลงชาติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1795
คำขวัญของฝรั่งเศสคือ “เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ” (Liberté Egalité Fraternité)
ธงชาติฝรั่งเศสมี 3 สี คือ น้ำเงิน ขาว แดง Bleu Blanc Rouge เรียงกันในแนวตั้ง
ในปี 1789 นายพล ลา ฟาแยตต์ (La Fayette) ได้เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ลงบนแถบผ้าคาดศีรษะสีน้ำเงินและแดงของ กองทหารรักษานครปารีส แถบผ้า 3 สีนี้ ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของ ธงชาติฝรั่งเศส
การป้องกันประเทศ
ในปี ค.ศ. 2000 งบประมาณด้านการป้องกันประเทศ 28.66 พันล้าน ยูโร คิดเป็น 2.05% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และคิดเป็น 11.29% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐ เพื่อสนองต่อการป้องกันยุโรป เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดีฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของกองทัพตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศนโยบายระยะยาวในการปรับกำลัง กองทัพฝรั่งเศสไว้ดังนี้
- ลดกำลังกองทัพประจำการให้เหลือไม่เกิน 350,000 คน ภายในปี 2002
- ปฏิรูปทางการทหารเพื่อขยายความร่วมมือ อย่างกว้างขวางในสหภาพยุโรป
- ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โดยใช้ระบบทหารอาสาสมัครมาทดแทน
- เพิ่มมาตรการปราบปรามทางนิวเคลียร์แก่สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักของการป้องกันประเทศฝรั่งเศส
- ปฎิบัติตามพันธกรณีของฝรั่งเศสที่ขึ้นต่อกองกำลังสหภาพยุโรป
ในปี 2001 กองทัพฝรั่งเศสมีทหารประจำการจำนวน 516,112 คน แบ่งออกตามเหล่าทัพต่าง ๆ ดังนี้
กองทัพบก (Armée de terre) 219,538 คน
กองทัพอากาศ (Armée de l’air) 70,802 คน
กองทัพเรือ (Marine) 59,450 คน
ตำรวจ (Gendarmerie) 100,358 คน
หน่วยงานด้านความร่วมมือ (สาธารณสุข กิจกรรมทางสังคม ฯลฯ) 65,964 คน
สังคมฝรั่งเศส
ประชากรฝรั่งเศสรวมทั้งหมด 60.7 ล้านคน (สำรวจครั้งสุดท้ายเมื่อ ปี 2001) ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 4 ล้านคน (1.5 ล้านคน มาจากประเทศ ต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป) คิดเป็น 16% ของประชากรสหภาพยุโรป
ในช่วงระยะเวลา 10 ปี (1988-1998) อายุเฉลี่ยของผู้ชายสูงขึ้น 2 ปี (74 ปี) และหญิงสูงขึ้น 3 ปี (82 ปี)
ประชากร : ข้อมูลปี 2000
เกิด 778,900 คน เฉลี่ยเด็ก 1.89 คน ต่อหญิง 1 คน อัตราการเกิดโดยเฉลี่ยประมาณ 13%
ตาย 538,300 คน อัตราการตายประมาณ 9%
การสมรส 304,300 ราย ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 จำนวนการสมรส ในฝรั่งเศสลดน้อยลง ในขณะที่จำนวนของคู่ที่อยู่ด้วยกัน โดยไม่แต่งงานเพิ่มมากขึ้น ในปี 1990 จากเดิม 1.5 ล้านคู่ เพิ่มเป็น 2.4 ล้านคู่ในปัจจุบัน (คิดเป็น 1 ใน 6 คู่)
การหย่าร้าง 120,000 ราย
สภาพการครองเรือน
คู่สมรสและที่อยู่ด้วยกันและมีบุตรอย่างน้อย 1 คน 31.3%
โสด 30.5%
คู่สมรสและที่อยู่ด้วยกันโดยไม่มีบุตร 29.2%
ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว 7%
ไร้ครอบครัว 2%
ประชากรแบ่งตามกลุ่มอาย
20 - 64 ปี 58.5%
ต่ำกว่า 20 ปี 25.4%
65 ปีขึ้นไป 16.1%
อายุเฉลี่ย 37 ปี
ศาสนา
ประเทศฝรั่งเศสให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
การศึกษา
ในปี 2000 งบประมาณด้านการศึกษา 99.7 พันล้านยูโร หรือ 7.2% ของ GDP 37% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีแห่งรัฐ หรือ 1,570.22 ยูโร ต่อประชากร 1 คน หรือ 5,671.1 ยูโร ต่อนักเรียน 1 คน
จำนวนนักเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา 12,236,000 คน ครู 866,000 คน โรงเรียน 70,668 แห่ง อัตราส่วนครู 1 คน ต่อนักเรียน 14 คน อัตรานักเรียนจบมัธยมศึกษา (ข้อมูลปี 2000) 79.5%
ระดับอุดมศึกษา มีนักศึกษา 2,126,000 คน อาจารย์ 80,351 คน มหาวิทยาลัย 90 แห่ง และสถาบันการศึกษาชั้นสูง 3,600 แห่ง อัตราส่วนอาจารย์ 1 คน ต่อนักศึกษา 19.8 คน
ประชากรในวัยทำงาน
ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมีประมาณ 26.5 ล้านคน (เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด) ในจำนวนนี้ 19.5 ล้านคนมีงานทำ ชาย 62% หญิง 48% และคนว่างงาน 2.35 ล้านคน (มกราคม 2001) คิดเป็น 9% ของ ประชากรวัยทำงาน
สถิติการจ้างงาน (ปี 2000)
ลูกจ้าง (29%) 7,705,000 คน
กรรมกร (26.7%) 7,096,000 คน
อาชีพระดับกลางทั่วไป (19.4%) 5,153,000 คน
ผู้จัดการและผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ (12.2%) 3,246,000 คน
ช่างฝีมือ ธุรกิจค้าขาย เจ้าของบริษัท (6.2%) 1,651,000 คน
เกษตรกรและคนงานในภาคเกษตร (2.5%) 671,000 คน
ผู้ว่างงานและไม่เคยทำงาน (1.3%) 350,000 คน
มาตรฐานการครองชีพ
รายได้เฉลี่ยสุทธิต่อปี 19,938 ยูโร
เงินเก็บสะสมเฉลี่ยต่อครอบครัว 1,829 ยูโร หรือ 15.6% ของรายได
การบริโภคและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
(คิดเป็นร้อยละของค่าใช้จ่าย ของแต่ละครัวเรือน)
ที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน 24.4%
อาหาร เครื่องดื่ม บุหร 18.1%
การคมนาคมขนส่ง 15.2%
บันเทิงและวัฒนธรรม 11.6%
ดูแลรักษาและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 6.5%
เครื่องนุ่งห่ม 5.3%
ด้านสุขภาพ 3.6%
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และบริการ (ท่องเที่ยว ภัตตาคาร ฯลฯ) 15.3%
รายได้
เมื่อ 1 กรกฎาคม 2000 SMIC (Salaire Minimum Interprofessionnel de Croissance) กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำไว้ที่ 1,082.60 ยูโร ค่าแรงขั้นต่ำ 6.41 ยูโร/ชม.
รายได้เฉลี่ยต่อป
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ 70,126  ยูโร
เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร 37,796  ยูโร
ช่างเทคนิคและที่ปรึกษา 21,672  ยูโร
เกษตรกรและคนงานในภาคการเกษตร 21,114  ยูโร
อาชีพระดับกลาง 20,990  ยูโร
แรงงานฝีมือ 15,547  ยูโร
ลูกจ้าง 14,897  ยูโร
แรงงานไร้ฝีมือ 13,230  ยูโร
การหยุดพักผ่อน
ข้าราชการและลูกจ้างในประเทศฝรั่งเศสมีสิทธิ์หยุดพักผ่อนตามกฎหมายปีละ 5 สัปดาห์ โดยได้รับค่าจ้าง และอัตราการไปพักผ่อนนอกบ้าน 69%
สหภาพแรงงาน
ประชากรที่สังกัดสหภาพแรงงานทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 2 ล้านคน คิดเป็น 8% ของประชากรวัยทำงาน เป็นอันดับต่ำสุดของสหภาพยุโรป สหภาพแรงงานที่สำคัญคือ CGT (Confédération Générale du Travail) CFDT (Confédération Française Démocratique du Travail) FO (Force Ouvrière) CFTC (Confédération Française des Travailleurs Chrétiens) และ FSU (Fédération Syndicale Unitaire)
การประกันสังคม
ระบบประกันสังคมของประเทศ เริ่มก่อตั้งในปี 1945 ผลประโยชน์ ตอบแทนยึดหลักการชำระเงินก่อนแล้วเบิกคืนทีหลัง
กองทุนได้มาจากเงินสมทบของลูกจ้างและนายจ้าง 67% (29% ของ GDP) และอีก 16% ได้มาจากภาษ
ผลประโยชน์จัดสรรเป็นบำนาญให้แก่ผู้เกษียณอายุ 49.2% สาธารณสุข 27.2% สงเคราะห์ครอบครัว 12.8% และสมทบกองเงินสงเคราะห์การจ้างงาน(คนว่างงาน การฝึกอาชีพ) 8.4%
อย่างไรก็ตาม จากการที่จำนวนผู้เกษียณอายุราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบอาชีพ ประกอบกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ระบบประกันสังคมฝรั่งเศส ประสบภาวะขาดทุนสะสม และกองทุน ลดลง (609.8 ล้านยูโร ในปี 1999 เปรียบเทียบกับ 2.03 พันล้านยูโรใน ปี 1998)
สาธารณสุข
ในปี 1999 ฝรั่งเศสใช้จ่ายเงิน 132.7 พันล้านยูโร สำหรับการรักษาพยาบาล ซึ่ง 75% ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม (Sécurité Sociale) โดยภาคเอกชน และบริษัทประกันภัยมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่สืบเนื่องมาจาก ผลของความต้องการบริการทางการแพทย์ ระบบประกันสุขภาพสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสังคม ยังคงประสบภาวะขาดทุนสะสมถึง 0.91 พันล้านยูโร แม้ว่าจะมีการปฏิรูปไปแล้วก็ตาม